หัวเทียน ร้อน กับ เย็นแตกต่างกันตรงไหน
วันก่อนรถโฟล์คที่นานทีจะได้เอาออกมาวิ่ง บ้างสังเกตุ เห็นว่า มันมักจะดับบ่อยๆ เมื่อเครื่องเดินเบา ก็เลยไปที่ร้านที่รู้จักกันดี พี่ช่างบอกว่าเป็นเพราะหัวเทียน ต้องใช้แบบเย็น วันนี้มีอารมณ์อยากเขียนบทความ ขอนำเรื่องนี้มาไว้อีกซักบทความนะครับ
หน้าที่ของหัวเทียน
คือ ส่งประกายไฟฟ้าแรงสูง ระหว่างขั้วอิเลคโทรดและ ประกายไฟฟ้าเกิดจากขดลวดไฟฟ้าเรียกกันว่า คลอย์จุดระเบิดหรือแมคนิโต ประกายไฟฟ้าแรงสูง จะช่วยจุดเชื้อเพลิง ที่ถูกอัดฉีดเข้าไป ในห้องเผาไหม้ ให้เกิดระเบิดขึ้นในกระบอกสูบ เชื้อเพลิงผสมนั้น จะถูกเผาไหม้จนหมดสิ้น เพื่อไอเสีย ที่ปล่อยออกมา นั้นจะได้สะอาด และเครื่องยนต์จะได้ทำงานอย่างเต็มที่ โดยที่ผลงานคุ้มค่ากับเชื้อเพลิงที่เสียไป หัวเทียนนั้นลักษณะ การทำงานจะคล้ายกับ ไฟเช๊คจุดบุหรี่ แต่จะต้องทนต่อการเปลี่ยนแปลง ของอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว คือในช่วงที่เชื้อเพลิงผสมเกิดระเบิดขึ้นอุณหภูมิจะสูงขึ้นถึง 2000 ถึง 2500 (3600 องศาฟาเรนไฮท์) และหลังจากที่ระเบิดขึ้นแล้ว ส่วนผสมที่ฉีดเข้าไปใหม่นั้น อุณหภูมิที่หัวเทียนก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะต้องทนต่อแรงอัดระเบิด ถึง 45 กก. ต่อ ตารางเซนติเมตร หรือ (640 ปอนด์ ต่อ 1 ตารางนิ้ว)ช่วงอุณหภูมิได้ผลดีที่สุด
การรักษา ต้องให้หัวเทียนนั้นอยู่ในช่วงอุณหภูมิ ที่ใช้งานให้ได้ผลดีที่สุด เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ถ้าหากอุณหภูมิต่ำเกินไป ก็จะทำให้ตัวหัวเทียนสกปรกและบอดได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไป หัวเทียนก็จะได้รับความร้อนมากเกินไป ในช่วงอุณหภูมิที่ใช้งานได้ผลดีที่สุดนี้เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า ช่วงอุณหภูมิที่ได้ผลดีที่สุดช่วงอุณหภูมิได้ผลดีที่สุดก็จะอยู่ในประมาณ 450 องศาเซลเซียส (850 องศาฟาเรนไฮท์)- 850 องศาเซลเซียส(1600 องศาฟาเรนไฮท์) แต่ถ้าอยู่ต่ำกว่า 450 องศาเซลเซียส (850 องศาฟาเรนไฮท์) หัวเทียนจะไม่สามารถทำความสะอาดตัวมันเองได้ เป็นเหตุให้ขั้นหัวเทียนสกปรก และมีเขม่าถ่าน หรือสิ่งสกปรกอื่น ๆ จับได้
ในทางตรงกันข้าม ถ้าอุณหภูมิที่ปลายขั้วหัวเทียนขึ้นสูงกว่า 850 องศาเซลเซียส หัวเทียนจะร้อนเกินไป ทำให้เกิดการชิงจุดระเบิดเผาไหม้เชื้อเพลิงผสมขึ้นก่อน โดยปราศจากการจุดระเบิด หรือการเกิดประกายไฟที่ปลายขั้ว ของหัวเทียน กรณีเช่นนี้เรียกว่า ชิงจุดระเบิดก่อนกำหนด เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้เกิดการสันดาปเผาไหม้ไม่หมด ทำให้เครื่องยนต์นั้นเสียกำลัง เป็นการไม่ประหยัดเชื้อเพลิง ในขณะเกียวกันไอเสียที่ปล่อยออกมาจะมากขึ้นด้วย ตลอดจนทำให้ขั้นแกนกลางของหัวเทียนเสื่อมเร็วเกินไป ถ้ากรณีนี้เป็นกรณีร้ายแรงก็จะถึงกับเป็นเหตุให้ เครื่องยนต์เสียหายได้
1.หัวเทียน ชนิดร้อนจะเป็นเบอร์ต่ำเสมอ หัวเทียน ชนิดร้อนจะเป็นเบอร์สูง
2.หัวเทียนร้อนมีการระบายความร้อนออกได้ช้า เมื่อเราใช้งานจริงในห้องเผาไหม้มันมีความร้อนจากการจุดระเบิด เมื่อหัวเทียนรับความร้อนนั้นมาจะส่งผลให้เกิดความร้อนสะสม ที่หัวเทียนอยู่อย่างนั้นหัวเทียนเย็นจะสามารถ ถ่ายเทความร้อนออกไปได้เร็วกว่า หัวเทียนร้อน โดยหัวเทียนจะมี ความร้อนสะสมอยู่ระดับนึง เพื่อให้แห้งตลอดเวลา เป็นทั้งหัวเทียนร้อนและหัวเทียนเย็น เพียงแต่ว่าหัวเทียนเย็นจะถ่ายเทความร้อนได้เร็วกว่าเท่านั้นเอง
3.การใช้งานรถที่วิ่งใช้งานในเมืองทุกวัน วิ่งธรรมดา ไม่ใช้ความเร็วรถจำพวกนี้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้จะต่ำมากเลย ซึ่งควรเลือกใช้หัวเทียนร้อน เพราะว่าเราต้องการระบายความร้อนช้าๆ เพื่อเก็บความร้อนสะสมไว้ ส่วนรถโฟล์คคงไม่เหมาะ หัวเทียน ร้อน เพราะช่างบอกว่ารถใช้หัวเทียนร้อน เมื่อมาดูเครื่องรถโฟล์คเต่า มันระบายความร้อนด้วยอากาศ ธรรมดามันก็ร้อนอยู่แล้ว ยิ่งได้หัวเทียนร้อนมาอีก หัวเทียนเลยบอดเครื่องดับครับ ในส่วน ถ้าเป็นรถที่ใช้ความเร็วสูงมาก ๆ ถ้าเราใช้หัวเทียนร้อน มันจะทำให้ระบายความร้อนไม่ทัน อาจสร้างความเสียหาย เช่น หัวเทียนละลาย กระเบื้องแตก โดยหลักการ คือ เชื้อเพลิงพร้อมที่จะจุดระเบิด พอมากระทบตัวหัวเทียน ซึ่งมันยังไม่ทันถึงจังหวะจุดระเบิด มันก็จุดระเบิดทันทีจากความร้อนสะสมของหัวเทียน ซึ่งรถที่ใช้ความเร็วตลอดควรเลือกใช้ "หัวเทียนเย็น" เพื่อการระบายความร้อนจะดีกว่า