4/21/2014

หัวเทียน ร้อน กับ เย็น

หัวเทียน ร้อน กับ เย็นแตกต่างกันตรงไหน

          วันก่อนรถโฟล์คที่นานทีจะได้เอาออกมาวิ่ง บ้างสังเกตุ เห็นว่า มันมักจะดับบ่อยๆ เมื่อเครื่องเดินเบา ก็เลยไปที่ร้านที่รู้จักกันดี พี่ช่างบอกว่าเป็นเพราะหัวเทียน ต้องใช้แบบเย็น วันนี้มีอารมณ์อยากเขียนบทความ ขอนำเรื่องนี้มาไว้อีกซักบทความนะครับ

หน้าที่ของหัวเทียน
         คือ ส่งประกายไฟฟ้าแรงสูง ระหว่างขั้วอิเลคโทรดและ ประกายไฟฟ้าเกิดจากขดลวดไฟฟ้าเรียกกันว่า คลอย์จุดระเบิดหรือแมคนิโต ประกายไฟฟ้าแรงสูง จะช่วยจุดเชื้อเพลิง ที่ถูกอัดฉีดเข้าไป ในห้องเผาไหม้ ให้เกิดระเบิดขึ้นในกระบอกสูบ เชื้อเพลิงผสมนั้น จะถูกเผาไหม้จนหมดสิ้น เพื่อไอเสีย ที่ปล่อยออกมา นั้นจะได้สะอาด และเครื่องยนต์จะได้ทำงานอย่างเต็มที่ โดยที่ผลงานคุ้มค่ากับเชื้อเพลิงที่เสียไป หัวเทียนนั้นลักษณะ การทำงานจะคล้ายกับ ไฟเช๊คจุดบุหรี่ แต่จะต้องทนต่อการเปลี่ยนแปลง ของอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว คือในช่วงที่เชื้อเพลิงผสมเกิดระเบิดขึ้นอุณหภูมิจะสูงขึ้นถึง 2000 ถึง 2500 (3600 องศาฟาเรนไฮท์) และหลังจากที่ระเบิดขึ้นแล้ว ส่วนผสมที่ฉีดเข้าไปใหม่นั้น อุณหภูมิที่หัวเทียนก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะต้องทนต่อแรงอัดระเบิด ถึง 45 กก. ต่อ ตารางเซนติเมตร หรือ (640 ปอนด์ ต่อ 1 ตารางนิ้ว)ช่วงอุณหภูมิได้ผลดีที่สุด
       การรักษา ต้องให้หัวเทียนนั้นอยู่ในช่วงอุณหภูมิ ที่ใช้งานให้ได้ผลดีที่สุด เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ถ้าหากอุณหภูมิต่ำเกินไป ก็จะทำให้ตัวหัวเทียนสกปรกและบอดได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไป หัวเทียนก็จะได้รับความร้อนมากเกินไป ในช่วงอุณหภูมิที่ใช้งานได้ผลดีที่สุดนี้เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า ช่วงอุณหภูมิที่ได้ผลดีที่สุดช่วงอุณหภูมิได้ผลดีที่สุดก็จะอยู่ในประมาณ 450 องศาเซลเซียส (850 องศาฟาเรนไฮท์)- 850 องศาเซลเซียส(1600 องศาฟาเรนไฮท์) แต่ถ้าอยู่ต่ำกว่า 450 องศาเซลเซียส (850 องศาฟาเรนไฮท์) หัวเทียนจะไม่สามารถทำความสะอาดตัวมันเองได้ เป็นเหตุให้ขั้นหัวเทียนสกปรก และมีเขม่าถ่าน หรือสิ่งสกปรกอื่น ๆ จับได้
          ในทางตรงกันข้าม ถ้าอุณหภูมิที่ปลายขั้วหัวเทียนขึ้นสูงกว่า 850 องศาเซลเซียส หัวเทียนจะร้อนเกินไป ทำให้เกิดการชิงจุดระเบิดเผาไหม้เชื้อเพลิงผสมขึ้นก่อน โดยปราศจากการจุดระเบิด หรือการเกิดประกายไฟที่ปลายขั้ว ของหัวเทียน กรณีเช่นนี้เรียกว่า ชิงจุดระเบิดก่อนกำหนด เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้เกิดการสันดาปเผาไหม้ไม่หมด ทำให้เครื่องยนต์นั้นเสียกำลัง เป็นการไม่ประหยัดเชื้อเพลิง ในขณะเกียวกันไอเสียที่ปล่อยออกมาจะมากขึ้นด้วย ตลอดจนทำให้ขั้นแกนกลางของหัวเทียนเสื่อมเร็วเกินไป ถ้ากรณีนี้เป็นกรณีร้ายแรงก็จะถึงกับเป็นเหตุให้ เครื่องยนต์เสียหายได้


หัวเทียน ร้อน กับ เย็น แตกต่างกันตรงไหน
       1.หัวเทียน ชนิดร้อนจะเป็นเบอร์ต่ำเสมอ หัวเทียน ชนิดร้อนจะเป็นเบอร์สูง
      2.หัวเทียนร้อนมีการระบายความร้อนออกได้ช้า เมื่อเราใช้งานจริงในห้องเผาไหม้มันมีความร้อนจากการจุดระเบิด เมื่อหัวเทียนรับความร้อนนั้นมาจะส่งผลให้เกิดความร้อนสะสม ที่หัวเทียนอยู่อย่างนั้นหัวเทียนเย็นจะสามารถ ถ่ายเทความร้อนออกไปได้เร็วกว่า หัวเทียนร้อน โดยหัวเทียนจะมี ความร้อนสะสมอยู่ระดับนึง เพื่อให้แห้งตลอดเวลา เป็นทั้งหัวเทียนร้อนและหัวเทียนเย็น เพียงแต่ว่าหัวเทียนเย็นจะถ่ายเทความร้อนได้เร็วกว่าเท่านั้นเอง
   3.การใช้งานรถที่วิ่งใช้งานในเมืองทุกวัน วิ่งธรรมดา ไม่ใช้ความเร็วรถจำพวกนี้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้จะต่ำมากเลย ซึ่งควรเลือกใช้หัวเทียนร้อน เพราะว่าเราต้องการระบายความร้อนช้าๆ เพื่อเก็บความร้อนสะสมไว้ ส่วนรถโฟล์คคงไม่เหมาะ หัวเทียน ร้อน เพราะช่างบอกว่ารถใช้หัวเทียนร้อน เมื่อมาดูเครื่องรถโฟล์คเต่า มันระบายความร้อนด้วยอากาศ ธรรมดามันก็ร้อนอยู่แล้ว ยิ่งได้หัวเทียนร้อนมาอีก หัวเทียนเลยบอดเครื่องดับครับ ในส่วน ถ้าเป็นรถที่ใช้ความเร็วสูงมาก ๆ ถ้าเราใช้หัวเทียนร้อน มันจะทำให้ระบายความร้อนไม่ทัน อาจสร้างความเสียหาย เช่น หัวเทียนละลาย กระเบื้องแตก โดยหลักการ คือ เชื้อเพลิงพร้อมที่จะจุดระเบิด พอมากระทบตัวหัวเทียน ซึ่งมันยังไม่ทันถึงจังหวะจุดระเบิด มันก็จุดระเบิดทันทีจากความร้อนสะสมของหัวเทียน ซึ่งรถที่ใช้ความเร็วตลอดควรเลือกใช้ "หัวเทียนเย็น" เพื่อการระบายความร้อนจะดีกว่า

4/19/2014

ประวัติรถ โฟล์คสวาเก้น โฟล์คตู้

ประวัติรถ โฟล์คสวาเก้น โฟล์คตู้

          แนวคิดการสร้างโฟล์คสวาเก้นตู้หรือ Type มาจากบริษัท โฟล์คสวาเก้น ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้มีแนวคิด เมื่อเห็นรถขนย้ายของในโรงงาน Wolfsburg ก็ได้เกิดความคิดว่า Volkswagen น่าจะมีรถที่สามารถขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ในปี 1947 Ben Pon ได้พบกับนายพล Ivan Hirst ที่ Minden ครั้งนี้ Ben Pon ได้นำ sketch ภาพของรถตู้ให้ดู โดยเป็นรถขับหน้า แต่ว่า พันเอก Radclyffe (วิศวะกรผู้ดูแลด้านการผลิตในเขตควบคุมของอังกฤษ) ปฎิเสธการผลิตเนื่องจากทรัพยากรที่มีอยู่ เพียงพอเพื่อผลิตโฟล์คเต่าเท่านั้น 
          แต่ ทว่าในปี 1948 Heinz Nordhoff ได้นัดพบผู้อำนวยการของโฟล์คสวาเก้นมาพบเพื่อรื้อเอาโครงการ ตู้ มาปัดฝุ่นอีกครั้งทำให้ Ben Pon ได้นำเสนอโปรเจคตู้กับ Nordhoff และในปีนี้เอง ตู้ก็ได้เข้าสู่สายพานการผลิตเพื่อจำหน่ายของ VW 
       หลัง จากนั้น ในวันที่ 11 มีนาคม ปี 1949 รถตู้ Prototype ได้เริ่มออกวิ่งครั้งแรก แต่ว่าเจ้า Prototype นี้ใช้แชสซีของเต่า ผลก็คือทำให้รับน้ำหนักมาก ๆ ไม่ไหว สุดท้ายก็ต้องหยุด Prototype นี้ไป ในเดือน พฤษภาคมปีเดียวกัน Prototype อีกคันก็ได้ทดลองวิ่ง โดย Prototype นี้ได้ถูกออกแบบแชสซีขึ้นมาใหม่โดย Dr.Haesner โดยแชสซีที่ใช้มีความแข็งแรงมาก ลักษณะเป็นเฟรมคู่แล้วใช้ตัวถังครอบบนแชสซีอีกครั้งหนึ่ง แต่ว่า Prototype นี้ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่เช่น น้อตที่ยึดตัวถังกับเฟรมไม่แข็งแรง ต่อมา Prototype ที่ 2 ก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นมา คราวนี้ใกล้ความจริงมากขึ้น เจ้า Prototype นี้ได้ถูกแก้ปัญหาจุดต่าง ๆ ได้ดีขึ้น จนวิ่งได้เป็นระยะทาง 12000 กิโลเมตร       
          ในวันที่ 15 สิงหาคม ปี 1949 โครงการ type2 ได้เปิดตัวครั้งแรกสู่สาธารณะชน โดยทาง VW ประกาศว่าจะมี ออกมาจำหน่ายอยู่ 4 โมเดลคือ รถตู้ทึบ รถตู้กระบะ (Single cab) รถตู้พยาบาล และรถตู้ที่ใช้สำหรับไปรษณีย์ แต่เอาเข้าจริง ๆ รถตู้คันแรกที่ออกขาย (แชสซีเลขที่ 000014) ได้ถูกขายในวันที่ 8 มีนาคม ปี 1950 ให้กับบริษัท Fleischhauer ในเมือง Colonge บริษัทนี้รู้จักกันดีในชื่อของ น้ำหอมตระกูล 4711 ในวันเดียวกันกับที่ออกแสดงในงาน Geneva Motor Show ข้ามมาต่อที่
           การผลิต T2 เริ่ม ในปี 1970 ที่โรงงาน ประกอบ the Puebla assembly factory.นำเสนอ ในขั้นต้น เป็นเพียงรุ่น เก้า ผู้โดยสาร ที่เรียกว่า the Volkswagen Kombi และจาก 1973 ยัง สินค้า รุ่น ที่เรียกว่า the Volkswagen Panel สายพันธุ์ ทั้งสอง ความจุ 1.5 ลิตร ระบายความร้อยด้วยอากาศ เครื่องยนต์ บ็อกเซอร์ และเกียร์กระปุก 4 เกียร์ ในปี 1974 ,เพิ่มความจุ 1.6 ลิตร 44 แรงม้า (33 KW 45 PS ) เครื่องยนต์ ใหม่แทนที่1.5 ลิตร ก่อนหน้านี้และ การผลิต อย่างต่อเนื่องขนถึง 1987 ในปี ค.ศ. 1987 ,เพิ่มความจุ 1.8 ลิตร 85 แรงม้า ( 63 KW 86 PS ) . อินไลน์ เครื่องยนต์สี่สูบรุ่นใหม่ แทนที่ระบายความร้อยด้วยอากาศ ด้วยหม้อน้า 1.6 ลิตร รุ่นใหม่ นี้เป็น ที่รู้จักโดย กระจังหน้า สีดำ ( หม้อน้ำ หล่อเย็น เครื่องยนต์ ) กันชน
   ในปี 1975 โฟล์คสวาเกน เม็กซิโก สั่งทำพิเศษจากเยอรมนี การสร้าง รถกระบะ ในเม็กซิโกและได้รับการ ตกแต่งพิเศษ รวมทั้ง ด้านหน้าและ ด้านหลัง ไฟ ตัดหมอก ที่ปัดน้ำฝน ไมล์บอกระยะทาง เดินทาง , นาฬิกา , ยาง กันชน , พีวีซี และประตู คู่ เดียว ช่องเก็บ รถกระบะ ที่ถูก ขายให้กับ Autohaus ,ตัวแทนจำหน่าย โฟล์คสวาเกน ในซานอันโตนิโอ , เท็กซัส เนื่องจากพวกเขา ไม่สามารถ ขายใน เม็กซิโก ตามกฎหมาย ไม่มี Volkswagens เยอรมันทำ
    ในปี 1988 เพิ่มความ หรูหรา- Volkswagen Caravelle เปิดตัวใน ตลาดเม็กซิกัน ในการแข่งขันกับนิสสัน แวน อิจิ ซึ่งเป็น ที่มีอยู่ใน สินค้า ผู้โดยสาร และความหรูหรา รุ่นที่แตกต่าง Volkswagen Caravelle ถูกขายเป็นรุ่นที่ แปด ผู้โดยสาร ในขณะที่ Volkswagen Caravelle ที่มีอยู่ เป็นรุ่นที่ เก้า ผู้โดยสาร Volkswagen Caravelle ถูกวาด เพียง แต่ ในสีโลหะ ในขณะที่ Volkswagen Caravelle ที่มีอยู่ เฉพาะใน ที่ไม่ใช่โลหะ สีและ Volkswagen Caravelle ก็พอดีมีระบบเสียง AM / FM เทป สเตอริโอ หน้าต่าง ย้อมสี เบาะ กำมะหยี่ , ไฟ อ่าน พนักพิง กลาง และด้านหลัง และ ล้อ ครอบคลุม จากแบบยุโรป T25
          ในปี 1991 Volkswagen Caravelle เริ่มที่จะมี กฎระเบียบ ป้องกันมลพิษ เม็กซิกัน ต้องสามทาง แปลงปัจจัย ระบบหัวฉีด น้ำมันเชื้อเพลิง Digifant แทนที่คาร์บูเรเตอร์ หน้าที่แล้ว สามสายพันธุ์ อย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง จนกระทั่ง 1994
          ในปี 1994 สิ้นสุดการผลิต ในเม็กซิโก ที่มีรูปแบบ ที่ถูก นำเข้ามาจาก ประเทศบราซิล Caravelleถูกยกเลิก และ ถูกนำเสนอทำ เฉพาะในสี ขาว และในที่สุด ในปี 2002 แทนที่ด้วยT4 Eurovan Pasajeros และ Eurovan Carga ผู้โดยสาร และ รถตู้ ขนส่งสินค้าใน รุ่น ฐานล้อ ยาว แบบอินไลน์ ห้า สูบ 2.5 ลิตร 115 แรงม้า และ ห้าความเร็ว กระปุก ที่นำเข้า จากประเทศเยอรมนี

Volkswagen ได้แบ่งประเภทgeneration ไว้ 5 แบบ 

- T1 ก็คือหน้าวี หรือ split window เริ่มผลิตตั้งแต่ 1950 - 1967
- T2 ก็คือแตงโม หรือ bay window เริ่มผลิตตั้งแต่1968 - 1979
- T3 ก็คือทรานสปอร์ทเตอร์ ในอเมริกาเรียกว่า vanagon เริ่มผลิตตั้งแต่ 1980 - 1992
- T4 ก็คือคาราเวล และ T5 ก็คือโฟล์คตู้ตัวใหม่ล่าสุดที่เพิ่งออกมาไม่นานนี้